คนน่ารัก

วันเสาร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

กมลฉันท์ 12

วิชชุมาลาฉันท์ 8

กาพย์สุรางคนางค์ 28

วสันตดิลกฉันท์ 14

บทความเรื่อง การอ่านอย่างมีประสิทธิภาพ

การอ่านอย่างมีประสิทธิภาพ
การอ่าน นับว่าเป็นทักษะที่สำคัญอย่างมากสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เพราะนักศึกษาจะต้องศึกษาหาความรู้ด้วยตนเองจากสื่อหลักคือ เอกสารการสอนเป็นสำคัญ ในเรื่องการอ่านนี้นักศึกษาคงจะเคยเห็นว่าบางคนมีความสามารถในการอ่านได้เร็วและยังเข้าใจในเนื้อหาที่อ่านได้ด้วย แต่บางคนอ่านได้ช้าและบางครั้งยังไม่ค่อยเข้าใจในสิ่งที่อ่านไปด้วย ถ้าคนใดมีความสามารถในการอ่านดีแล้วจะได้ประโยชน์จากการอ่านมาก ถ้าสามารถอ่านได้เร็วก็จะทำให้มีเวลามากกว่าคนอื่น ๆ ในการทบทวนตำราก่อนสอบหรือมีเวลาสำหรับทำกิจกรรมอย่างอื่นได้มากขึ้นกว่าคนที่อ่านได้ช้ากว่า
การอ่านหนังสือไม่ใช่เพียงแค่อ่านข้อความตามตัวหนังสือที่มีไว้ในหนังสือให้จบเล่มเท่านั้น แต่การอ่านนั้นมีจุดประสงค์สำคัญคือการรับรู้ความหมาย และทำความเข้าใจกับข้อความที่เขียนเป็นตัวหนังสือ
การจะอ่านหนังสือให้มีประสิทธิภาพ นักศึกษาต้องรู้ว่าก่อนว่า อะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้อ่านหนังสือได้ขาดประสิทธิภาพ และ พยายามแก้ไขตามสาเหตุเหล่านั้น
สาเหตุที่ทำให้การอ่านหนังสือขาดประสิทธิภาพ มีดังนี้
1. การอ่านทีละคำ
2. การอ่านออกเสียง
3. ปัญหาเกี่ยวกับศัพท์เฉพาะ
4. การใช้วิธีเดียวกันตลอดในการอ่านทุกประเภท
5. การใช้นิ้วชี้ข้อความตามไปด้วยในขณะอ่าน
6. การอ่านซ้ำไปซ้ำมา
7. การขาดสมาธิในการอ่าน
ข้อเสนอแนะที่ช่วยให้นักศึกษาอ่านอย่างมีประสิทธิภาพ
1. ไม่อ่านทีละคำ
การอ่านทีละคำทำให้อ่านหนังสือได้ช้า เพราะมุ่งหาความหมายของคำทีละคำ สามารถแก้ไขได้โดยตั้งใจไว้ว่า เมื่ออ่านหนังสือทุกครั้ง จะจับใจความสำคัญของประโยคด้วยการใช้สายตาเพียงครั้งเดียว และได้ความหมายทันที
2. ไม่อ่านออกเสียง
การอ่านหนังสือออกเสียงไปทีละตัว โดยทั่วไปติดมาจากนิสัยการอ่านสมัยชั้นประถม การอ่านออกเสียงไม่ว่าจะมีเสียงออกมาหรือมีเสียงในคอ การอ่านแบบนี้อ่านได้ช้าทั้งสิ้นเพราะมุ่งแต่ออกเสียงตามตัวหนังสือที่ปรากฎ การอ่านได้เร็วสามารถแก้ไขได้โดยพยายามทำให้การมอง เห็นรูปทรง และการประสมคำของตัวหนังสือ สามารถผ่านขั้นตอนการรับรู้ของเราไปสู่สมองได้เลย โดยไม่ต้องเสียเวลาพินิจพิเคราะห์ว่า มันมีเสียงอะไรการแก้ไขให้ใช้นิ้วปิดปากในขณะอ่านตลอดเวลาจะทำให้อ่านได้ดีขึ้น และเมื่อปฏิบัติเช่นนี้จนติดเป็นนิสัยแล้ว จะพบว่าทำให้อ่านได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
3. ไม่มีกังวลเกี่ยวกับศัพท์เฉพาะ
การหยุดและกังวลเกี่ยวกับคำศัพท์ที่ไม่เคยเห็นมาก่อนจะทำให้จังหวะในการอ่านและแนวคิดในการอ่านประโยคนั้นหายไป ดังนั้นแม้ว่าจะไม่รู้ศัพท์บางคำก็สามารถหาความหมายของศัพท์นั้นได้ โดยดูจากข้อความในประโยค ถ้าใช้ความคิดคิดตามตลอดเรื่อง
4. ไม่ใช้วิธีเดียวกันตลอดในการอ่านทุกประเภท
นักศึกษาควรใช้วิธีการอ่านที่แตกต่างกันในแต่ละเรื่องที่อ่าน เช่น อ่านเรื่องเบาสมองก็อ่านเร็วได้ ถ้าอ่านตำราวิชาการต้องใช้ความคิดพิจารณาเนื้อเรื่องก็ใช้เวลาอ่านนานขึ้นนั้นคือผู้อ่านต้องรู้จุดประสงค์ของเรื่องที่จะอ่านด้วย จึงจะได้ประโยชน์ที่แท้จริง
5. ไม่ใช้นิ้วชี้ข้อความตามไปด้วยในขณะอ่าน
จะทำให้อ่านได้ช้าลง การใช้สายตากวาดไปตามบรรทัดจะเร็วกว่าการใช้นิ้วชี้เพราะสายตาเคลื่อนที่เร็วกว่านิ้ว วิธีแก้นิสัยนี้อาจทำได้โดยใช้มือจับหนังสือหรือประสานมือกันไว้ในขณะอ่านหนังสือ
6. ไม่อ่านซ้ำไปซ้ำมา
การอ่านเนื้อเรื่องที่ไม่เข้าใจ เป็นการชี้ให้เห็นว่านักศึกษาไม่มั่นใจที่จะดึงเอาความสำคัญของเนื้อความนั้นออกมาได้ด้วยความสามารถของตนเอง เหตุนี้จึงทำให้อ่านช้าลงเพราะคอยคิดแต่จะกลับไปอ่านใหม่ แทนที่จะอ่านไปทั้งหน้าเพื่อหาแนวคิดใหม่ จงพยายามอ่านครั้งเดียวอย่างตั้งใจความคิดทั้งหลายจะค่อย ๆ มาเอง ไม่ต้องกังวลว่าตนเองอ่านไม่รู้เรื่อง
7. มีสมาธิในการอ่าน
การปล่อยให้ความตั้งใจและความคงที่ของอารมณ์ล่องลอยไปกับความคิดที่สอดแทรกเข้ามาขณะอ่าน จะทำให้ไม่ได้รับความรู้อะไรจากการอ่านเลย นักศึกษาจะต้องพัฒนาความสามารถ โดยฝึกจิตให้แน่วแน่มุ่งความสนใจอยู่ที่หนังสือเพียงอย่างเดียว
ความสามารถในการอ่านสามารถพัฒนาได้โดยการฝึกฝน ทำตาม ข้อเสนอแนะในการอ่านข้างต้น ถ้านักศึกษาพยายามฝึกฝนการอ่านให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น อ่านให้ได้เร็วขึ้น ต่อไปนักศึกษาก็จะเป็นผู้ที่มีประสิทธิภาพในการเรียนและประสบผลสำเร็จในการศึกษา
[จาก การอ่านอย่างมีประสิทธิภาพ ข่าว มสธ. กันยายน 2539]
ที่มา : http://www.stou.ac.th/Offices/Oes/OesPage/Guide/article/n4.html

การ์ตูนพระพุทธเจ้า 10 ชาติ

บทอาขยานวิชาเหมือนสินค้า

บทความ เกี่ยวกับป่าไม้

ป่าไม้ทำให้ฝนตกจริงหรือ?
ประสบการณ์จากขุนคอง
บุญวงศ์ ไทยอุตส่าห์
ภาควิชาวนวัฒนวิทยา คณะวนศาสตร์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน  กรุงเทพฯ 10903
     
           เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปแล้วว่า ดิน ป่าไม้ และ น้ำ มีความสำพันธ์ต่อกันอย่างแนบแน่น
จนเกิดคำพังเพยว่า ดินดีเพราะป่าปก ป่ารกเพราะฝนชุก
แต่ถ้าจะถามในทางกลับกันว่า ฝนตกชุกเพราะป่ารกจริงหรือก็คงจะคลายข้อกังขานี้
ได้ไม่ง่ายนักเพราะจะมีทั้งคำตอบว่า จริงและ ไม่จริงให้สับสนอยู่เสมอมา
ป่าไม้มีอิทธิพลต่อน้ำในดินและปริมาณน้ำในแม่น้ำลำธารอย่างไม่ต้องสงสัยเพราะป่าไม้
ช่วยยืดขั้นตอนของวัฏจักรของน้ำให้ยาวขึ้น โดยการเพิ่มการรองรับน้ำของเรือนยอด การดูดซับน้ำของ
ระบบราก และการคายน้ำของต้นไม้
แต่ความชุ่มชื้นของบรรยากาศอันเกิดจากการคายน้ำของสังคมพืชในป่า แล้วก่อตัวเป็น
ฝน อาจจะถูกลมพัดพาไปตกในที่โล่ง ทะเล หรือมหาสมุทรก็ได้ จึงยากที่จะบอกว่าป่าไม้ทำให้ฝนตก
เพิ่มขึ้น
ส่วนฝ่ายที่เชื่อว่าปริมาณน้ำฝนในป่าผืนใหญ่สูงกว่าในที่โล่งนั้นก็ให้เหตุผลว่าเป็นเพราะ
ป่าไม้เป็นตัวการก่อให้เกิดการคายน้ำ การดูดซับน้ำ และการหมุนเวียนของอากาศสูงกว่าในที่โล่ง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือที่ราบ
ผลการศึกษาในรัสเซียพบว่า การหมุนเวียนของอากาศในสวนป่าทำให้ปริมาณน้ำฝนราย
ปีเพิ่มขึ้นประมาณ 8 เปอร์เซ็นต์ ส่วนการคายน้ำก็ช่วยทำให้ฝนตกในสวนป่ามากกว่าในที่โล่งประมาณ 5
เปอร์เซ็นต์
ผลการศึกษาในรัสเซียอีกเช่นกันที่พบว่า ทุก ๆ 10 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่สวนป่าที่เพิ่มขึ้น
นั้น ทำให้ฝนตกเพิ่มขึ้น 1.5 เปอร์เซ็นต์
นิสิตภาควิชาวนวัฒนวิทยา คณะวนศาสตร์ ได้วิเคราะห์ข้อมูลเนื้อที่สวนป่าและปริมาณ
น้ำฝนที่ขุนคองเมื่อเร็วๆ นี้
ขุนคองเป็นชื่อหน่วยงานพัฒนาต้นน้ำ ของกองอนุรักษ์ต้นน้ำ กรมป่าไม้ ซึ่งมีคุณ
ธรรมนูญ แก้วอำพุท เป็นหัวหน้าหน่วยมีชื่ออย่างเป็นทางการว่าหน่วยพัฒนาต้นน้ำที่ 26 ตั้งอยู่ในท้องที่
อำเภอเชียงดาว และกิ่งอำเภอเวียงแห จังหวัดเชียงใหม่ ภูมิประเทศเป็นภูเขาสูงชัน สูงจากระดับน้ำทะเล
ระหว่าง 1,200-1,700 เมตร ป่าดิบเขาซึ่งเคยอุดมสมบูรณ์ในอดีตได้ถูกทำลายโดยชาวเขาเผ่าม้งเพื่อปลูกฝิ่น
ปัจจุบันเป็นที่อยู่อาศัยของลีซอ จีนฮ่อ และไทยใหญ่ 143 ครอบครัว จำนวน 1,014 คน
ด้วยตระหนักถึงความสำคัญของป่าไม้ในแหล่งต้นน้ำลำธาร กรมป่าไม้จึงได้จัดตั้งหน่วย
พัฒนาต้นน้ำที่ 26 ขึ้นที่ขุนคองเมื่อปี พ..2508 พร้อมกับกำหนดให้ทำการปลูกสร้างสวนป่าต่อเนื่องกัน
ทุกปี มากบ้างน้อยบ้างตามกำลังงบประมาณที่ได้รับการจัดสรร
ปัจจุบันขุนคองได้ทำการปลูกสร้างสวนป่าไปแล้ว 21,088 ไร่ ส่วนใหญ่เป็นไม้สนสามใบ
ควบคู่ไปกับงานปลูกสร้างสวนป่า ขุนคองก็ต้องเก็บข้อมูลทางอุตุนิยมวิทยาเช่นเดียวกับหน่วยงานป่าไม้
อื่นๆ
ด้วยสงสัยว่า ป่าไม้ทำให้ฝนตกจริงหรือ นิสิตวนศาสตร์กลุ่มหนึ่งจึงได้รับมอบหมายให้
หาคำตอบโดยยึดเอาข้อมูลอันยาวนานของขุนคองมาเป็นกรณีศึกษา ด้วยการสร้างสมการสหสัมพันธ์เส้น
โค้งขึ้นมาสมการหนึ่งและพบว่า ปริมาณน้ำฝนรายปี (มม.) ที่ขุนคองขึ้นอยู่กับเนื้อที่สวนป่าถึง 61
เปอร์เซ็นต์ทั้งนี้สามารถประมาณการได้จากสมการข้างล่างนี้
ปริมาณน้ำฝน = 22.99009 x (เนื้อที่สวนป่า) –1103.46853
เมื่อปี พ.. 2517 มีเนื้อที่สวนป่า 7,950 ไร่ ฝนตก 943 มม.
ปี พ.. 2524 มีเนื้อที่สวนป่า 14,810 ไร ่ ฝนตก 1,779 มม.
ปี พ.. 2529 มีเนื้อที่สวนป่า 18,110 ไร ่ ฝนตก 2,030 มม.
ปี พ.. 2532 มีเนื้อที่สวนป่า 2,466 ไร่ ฝนตก 2,466 มม.
หากขุนคองปลูกป่าได้ 25,000 ไร่เมื่อใด คาดว่าจะมีฝนตกถึงปีละ 2,532 มม.
และโอกาสที่ขุนคองจะมีฝนตกเกินกว่า 3,000 มม. ต่อปี เช่นเดียวกับในภาคใต้ก็ย่อม
เป็นไปได้ หากสามารถปลูกป่าให้ได้ถึง 35,000 ไร่
นั่นคือ ป่าไม้ทำให้ฝนตกจริง
เมื่อทราบเช่นนี้แล้วรัฐบาลจะมัวลังเลชักช้าอยู่กับการปลูกสร้างสวนป่าอีกหรือ
จากหนังสือพิมพ์ข่าวสด ฉบับประจำวันที่ 29 กรกฎาคม 2534
ที่มา  http://frc.forest.ku.ac.th/cgi_bin/database/100_frc/pdf/007.pdf

เรื่องของป่าไม้

เรื่องของป่าไม้


ความหมายของป่าไม้ (ตาม พรบ.ป่าไม้ พ.ศ.2484)
          ป่า คือ ที่ดินที่ยังมิได้มีบุคคลได้มาตามกฎหมายที่ดิน
ประเภทของป่าไม้
          ประเภทของป่าไม้ ในประเทศไทยจะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับ สภาพภูมิอากาศ ภูมิประเทศ การกระจาย ของฝน ระยะเวลา ที่ฝนตก รวมทั้ง ปริมาณน้ำฝน ทำให้ป่าแต่ละแห่ง มีความชุ่มชื้น ต่างกัน สามารถจำแนกได้ 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ  ป่าไม้ แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ1. ป่าผลัดใบ (Deciduous Forest) เป็นระบบนิเวศน์ป่าที่ประกอบด้วยพันธุ์ไม้ชนิดผลัดใบหรือทิ้งใบเก่าในฤดูแล้ง เพื่อจะแตกใบใหม่เมื่อเข้าฤดูฝน ยกเว้นพืชชั้นล่างจะไม่ผลัดใบ จะพบป่าชนิดนี้ตั้งแต่ระดับความสูง 50-800 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
     1.1 ป่าเบญจพรรณ (Mixed Deciduous Forest)
          ลักษณะทั่วไปเป็นป่าโปร่ง พื้นที่ป่าไม้ไม่รกทึบ มีไม้ไผ่ชนิดต่างๆ ขึ้นอยู่มาก มีอยู่ทั่วไปตามภาคต่างๆ ที่เป็นที่ราบ หรือตามเนินเขา พันธุ์ไม้จะผลัดใบในฤดูแล้ง การกระจายของป่าเบญจพรรณในประเทศไทย พบในภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคอีสาน ครอบคลุมต่ำลงไปจนถึงจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ตอนบน มีปรากฏที่ระดับความสูงตั้งแต่ 50 เมตร ถึง 800 เมตร หรือสุงกว่านี้ในบางจุด 

     1.2 ป่าแดง ป่าแพะ หรือป่าเต็งรัง (Dry Dipterocarp Forest)
          พบขึ้นสลับกับป่าเบญจพรรณ ลักษณะเป็นป่าโปร่ง มีต้นไม้ขนาดเล็ก และขนาดกลาง ไม้เด่นอันเป็นไม้ดัชนีประกอบด้วยไม้ในวงศ์ยาง ฤดูแล้งจะผลัดใบ และมีไฟป่าเป็นประจำ ป่าเต็งรังมีถิ่นกระจายโดยกว้างๆ ซ้อนทับกันอยู่กับป่าเบญจพรรณ แต่อาจแคบกว่าเล็กน้อยทั้งนี้เนื่องจากมีปัจจัยกำหนดที่เกี่ยวข้องกับความแห้งแล้ง มีปรากฏตั้งแต่จังหวัดเพชรบุรีขึ้นไปจนถึงเหนือสุดในจังหวัดเชียงราย ป่าชนิดนี้เป็นสังคมพืชเด่นในทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนใหญ่ปรากฏสลับกันไปกับป่าเบญจพรรณ ในพื้นที่ที่มีความแห้งแล้งจัด กักก็บน้ำได้เลว เช่น บนสันเนิน พื้นที่ราบที่เป็นทรายจัด หรือบนดินลูกรังที่มีชั้นของลูกรังตื้น ตั้งแต่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเล 50-1,000 เมตร


     1.3 ป่าหญ้า (Savanna Forest)
          เกิดจากการทำลายสภาพป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ ดินมีความเสื่อมโทรม มีฤทธิ์เป็นกรด ต้นไม้ไม่สามารถเจริญเติบโตได้ จึงมีหญ้าต่างๆ เข้าไปแทนที่ แพร่กระจายทั่วประเทศในบริเวณที่ป่าถูกทำลายและเกิดไฟป่าเป็นประจำทุกปี

2. ป่าไม่ผลัดใบ (Evergeen forest) เป็นระบบนิเวศน์ของป่าไม้ที่ประกอบด้วยพันธุ์ไม้ชนิดไม่ผลัดใบ คือมีใบเขียวชอุ่มตลอดปี แบ่งออกเป็น 4 ชนิด คือ

     2.1 ป่าดิบเมืองร้อน (Tropical evergreen forest)
          เป็นป่าที่อยู่ในเขตลมมรสุมพัดผ่านเกือบตลอดปี มีปริมาณน้ำฝนมาก แบ่งออกเป็น :
         
2.1.1 ป่าดงดิบชื้น (Tropical rain forest)
          ป่าดงดิบชื้นในประเทศไทยมีการกระจายส่วนใหญ่อยู่ทางภาคใต้และภาคตะวันออกของประเทศ อาจพบในภาคอื่นบ้าง แต่มักมีลักษณะโครงสร้างที่เป็นสังคมย่อยของสังคมป่าชนิดนี้ ป่าดงดิบชื้นขึ้นอยู่ในที่ราบรือบนภูเขาที่ระดับความสูงไม่เกิน 600 เมตรจากระดับน้ำทะเล ในภาคใต้พบได้ตั้งแต่ตอนล่างของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ลงไปจนถึงชายเขตแดน ส่วนทางภาคตะวันออกพบในจังหวัดตราด จันทบุรี ระยอง และบางส่วนของจังหวัดชลบุรี

          2.1.2 ป่าดงดิบแล้ง 

(Dry evergreen forest)
          ป่าดงดิบแล้งของเมืองไทยพบกระจายตั้งแต่ตอนบนของทิวเขาถนนธงชัยจากจังหวัดชุมพรขึ้นมาทางเหนือ ปกคลุมลาดเขาทางทิศตะวันตกของทิวเขาตะนาวศรีไปจนถึงจังหวัดเชียงราย ส่วนซีกตะวันออกของประเทศปกคลุมตั้งแต่ทิวเขาภูพานต่อลงมามาถึงทิวเขาบรรทัด ทิวเขาพนมดงรักลงไปจนถึงจังหวัดระยองขึ้นไปตามทิวเขาดงพญาเย็น ทิวเขาเพชรบูรณ์จนถึงจังหวัดเลยและน่าน นอกจากนี้ ยังพบในจังหวัดสกลนคร และทางเหนือของจังหวัดหนองคายเลียบลำน้ำโขงในส่วนที่ติดต่อกับประเทศลาว ป่าชนิดนี้พบตั้งแต่ระดับความสูงจากน้ำทะเลปานกลางประมาณ 100 เมตรขึ้นไปถึง 800 เมตร 


         

 2.1.3 ป่าดงดิบเขา 

(Hill evergreen forest)
          ป่าดงดิบเขาอาจพบได้ในทุกภาคของประเทศในบริเวณที่เป็นยอดเขาสูง พบตั้งแต่เขาหลวง จ.นครศรีธรรมราช เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ขึ้นไปจนถึงยอดเขาสูง ๆ ในภาคเหนือ เช่น ยอดดอยอินทนนท์ ดอยปุย และยอดดอยอื่นๆ ในจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย และแม่ฮ่องสอน เป็นต้น ส่วนทางภาคตะวันออกพบได้บนยอดดอยภูหลวง ภูกระดึง ยอดเขาสูงในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ เป็นต้น 

     2.2 ป่าสน (Coniferous forest)
          ป่าชนิดนี้ถือเอาลักษณะโครงสร้างของสังคมเป็นหลักในการจำแนกโดยเฉพาะองค์ประกอบของชนิดพันธุ์ไม้ในสังคมและไม้เด่นนำ อาจเป็นสนสองใบหรือสนสามใบ 


     2.3 ป่าพรุหรือป่าบึง (Swamp forest)
พบตามที่ราบลุ่มมีน้ำขังอยู่เสมอ และตามริมฝั่งทะเลที่มีโคลนเลนทั่วๆ ไป แบ่งออกเป็น
          2.3.1 ป่าพรุ (Peat Swamp)
          เป็นสังคมป่าที่อยู่ถัดจากบริเวณสังคมป่าชายเลน โดยอาจจะเป็นพื้นที่ลุ่มที่มีการทับถมของซากพืชและอินทรียวัตถุที่ไม่สลายตัว และมีน้ำท่วมขังหรือชื้นแฉะตลอดปี จากรายงานของกองสำรวจดิน กรมพัฒนาที่ดิน (2525) พื้นที่ที่เป็นพรุพบในจังหวัดต่าง ๆ ดังนี้ นราธิวาส 283,350 ไร่ นครศรีธรรมราช 76,875 ไร่ ชุมพร 16,900 ไร่ สงขลา 5,545 ไร่ พัทลุง 2,786 ไร่ ปัตตานี 1,127 ไร่ และตราด 11,980 ไร่ ส่วนจังหวัดที่พบเล็กน้อย ได้แก่ สุราษฎร์ธานี ตรังกระบี่ สตูล ระยอง จันทบุรี เชียงใหม่ (อ.พร้าว) และจังหวัดชายทะเลอื่น ๆ รวมเป็นพื้นที่ 400,000 ไร่ อย่างไรก็ตาม พื้นที่ส่วนใหญ่ถูกบุกรุกทำลายระบายน้ำออกเปลี่ยนแปลงสภาพเป็นสวนมะพร้าว นาข้าว และบ่อเลี้ยงกุ้งเลี้ยงปลา คงเหลือเป็นพื้นที่กว้างใหญ่ในจังหวัดนราธิวาสเท่านั้น คือ พรุโต๊ะแดง ซึ่งยังคงเป็นป่าพรุสมบูรณ์ และพรุบาเจาะ ซึ่งเป็นพรุเสื่อมสภาพแล้ว


          2.3.2 ป่าชายเลน (Mangrove swamp forest)
          เป็นสังคมป่าไม้บริเวณชายฝั่งทะเลในจังหวัดทางภาคใต้ กลาง และภาคตะวันออก และมีน้ำขึ้น-น้ำลงอย่างเด่นชัดในรอบวัน ประกอบด้วยพันธุ์ไม้หลายชนิดหลายตระกูล และเป็นพวกที่มีใบเขียวตลอดปี ส่วนใหญ่ประกอบด้วยพันธุ์ไม้สกุลโกงกาง (Rhizophora)


     2.4 ป่าชายหาด (Beach forest)
          พบแพร่กระจายอยู่ตามชายฝั่งทะเลที่เป็นดินกรวด ทราย และโขดหิน ดินมีฤทธิ์เป็นด่าง


ประโยชน์ของทรัพยากรป่าไม้
          3.1 ประโยชน์ทางตรง เช่น การนำไม้มาสร้างบ้านและใช้ทำผลิตภัณฑ์ต่างๆ (กระดาษ เฟอร์นิเจอร์) การนำส่วนต่างๆ ของพืชมาเป็นอาหาร (ผล ใบ ราก) การนำไม้บางชนิดมาสกัดหรือทำยารักษาโรคต่างๆ นอกจากนี้ยังนำไม้มาเป็นวัตถุดิบในการทำเชือก(เถาวัลย์) เป็นต้น 
         
3.2 ประโยชน์ทางอ้อม เช่น ป่าไม้เป็นแหล่งกำเนิดต้นน้ำลำธาร ช่วยให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล ทำให้เกิดความชุ่มชื้นและควบคุมสภาวะอากาศ ลดภาวะโลกร้อน เป็นแหล่งพักผ่อนและศึกษาหาความรู้ ช่วยบรรเทาความรุนแรงของลมพายุ และป้องกันอุทกภัย นอกจากนี้ยังช่วยป้องกันการกัดเซาะและพัดพาหน้าดินด้วย





บทความที่เกี่ยวข้อง
*หมายเหตุ งานเขียนชิ้นนี้ ได้รับการคุ้มครองสิทธิตามพระราชบัญญัติคุ้มครองสิทธิทางปัญญา โดยลิขสิทธิเป็นของผู้เขียน ที่ให้เกียรตินำเผยแพร่ผ่าน วิชาการ.คอม เรามีความยินดีและอนุญาตให้ทำซ้ำหรือเผยแพร่ต่อเพื่อประโยชน์ทางการศึกษาเท่านั้น กรุณาให้เกียรติผู้เขียน โดยอ้างชื่อผู้เขียนและแหล่งข้อมูลทุกครั้งที่ทำการเผยแพร่ต่อ ห้ามนำส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อในสื่อที่เอื้อประโยชน์ทางธุรกิจก่อนได้รับอนุญาต ขอขอบคุณที่ร่วมกันช่วยสร้างให้สังคมไทยเป็นสังคมแห่งปัญญา