คนน่ารัก

วันเสาร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

บทความ เกี่ยวกับป่าไม้

ป่าไม้ทำให้ฝนตกจริงหรือ?
ประสบการณ์จากขุนคอง
บุญวงศ์ ไทยอุตส่าห์
ภาควิชาวนวัฒนวิทยา คณะวนศาสตร์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน  กรุงเทพฯ 10903
     
           เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปแล้วว่า ดิน ป่าไม้ และ น้ำ มีความสำพันธ์ต่อกันอย่างแนบแน่น
จนเกิดคำพังเพยว่า ดินดีเพราะป่าปก ป่ารกเพราะฝนชุก
แต่ถ้าจะถามในทางกลับกันว่า ฝนตกชุกเพราะป่ารกจริงหรือก็คงจะคลายข้อกังขานี้
ได้ไม่ง่ายนักเพราะจะมีทั้งคำตอบว่า จริงและ ไม่จริงให้สับสนอยู่เสมอมา
ป่าไม้มีอิทธิพลต่อน้ำในดินและปริมาณน้ำในแม่น้ำลำธารอย่างไม่ต้องสงสัยเพราะป่าไม้
ช่วยยืดขั้นตอนของวัฏจักรของน้ำให้ยาวขึ้น โดยการเพิ่มการรองรับน้ำของเรือนยอด การดูดซับน้ำของ
ระบบราก และการคายน้ำของต้นไม้
แต่ความชุ่มชื้นของบรรยากาศอันเกิดจากการคายน้ำของสังคมพืชในป่า แล้วก่อตัวเป็น
ฝน อาจจะถูกลมพัดพาไปตกในที่โล่ง ทะเล หรือมหาสมุทรก็ได้ จึงยากที่จะบอกว่าป่าไม้ทำให้ฝนตก
เพิ่มขึ้น
ส่วนฝ่ายที่เชื่อว่าปริมาณน้ำฝนในป่าผืนใหญ่สูงกว่าในที่โล่งนั้นก็ให้เหตุผลว่าเป็นเพราะ
ป่าไม้เป็นตัวการก่อให้เกิดการคายน้ำ การดูดซับน้ำ และการหมุนเวียนของอากาศสูงกว่าในที่โล่ง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือที่ราบ
ผลการศึกษาในรัสเซียพบว่า การหมุนเวียนของอากาศในสวนป่าทำให้ปริมาณน้ำฝนราย
ปีเพิ่มขึ้นประมาณ 8 เปอร์เซ็นต์ ส่วนการคายน้ำก็ช่วยทำให้ฝนตกในสวนป่ามากกว่าในที่โล่งประมาณ 5
เปอร์เซ็นต์
ผลการศึกษาในรัสเซียอีกเช่นกันที่พบว่า ทุก ๆ 10 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่สวนป่าที่เพิ่มขึ้น
นั้น ทำให้ฝนตกเพิ่มขึ้น 1.5 เปอร์เซ็นต์
นิสิตภาควิชาวนวัฒนวิทยา คณะวนศาสตร์ ได้วิเคราะห์ข้อมูลเนื้อที่สวนป่าและปริมาณ
น้ำฝนที่ขุนคองเมื่อเร็วๆ นี้
ขุนคองเป็นชื่อหน่วยงานพัฒนาต้นน้ำ ของกองอนุรักษ์ต้นน้ำ กรมป่าไม้ ซึ่งมีคุณ
ธรรมนูญ แก้วอำพุท เป็นหัวหน้าหน่วยมีชื่ออย่างเป็นทางการว่าหน่วยพัฒนาต้นน้ำที่ 26 ตั้งอยู่ในท้องที่
อำเภอเชียงดาว และกิ่งอำเภอเวียงแห จังหวัดเชียงใหม่ ภูมิประเทศเป็นภูเขาสูงชัน สูงจากระดับน้ำทะเล
ระหว่าง 1,200-1,700 เมตร ป่าดิบเขาซึ่งเคยอุดมสมบูรณ์ในอดีตได้ถูกทำลายโดยชาวเขาเผ่าม้งเพื่อปลูกฝิ่น
ปัจจุบันเป็นที่อยู่อาศัยของลีซอ จีนฮ่อ และไทยใหญ่ 143 ครอบครัว จำนวน 1,014 คน
ด้วยตระหนักถึงความสำคัญของป่าไม้ในแหล่งต้นน้ำลำธาร กรมป่าไม้จึงได้จัดตั้งหน่วย
พัฒนาต้นน้ำที่ 26 ขึ้นที่ขุนคองเมื่อปี พ..2508 พร้อมกับกำหนดให้ทำการปลูกสร้างสวนป่าต่อเนื่องกัน
ทุกปี มากบ้างน้อยบ้างตามกำลังงบประมาณที่ได้รับการจัดสรร
ปัจจุบันขุนคองได้ทำการปลูกสร้างสวนป่าไปแล้ว 21,088 ไร่ ส่วนใหญ่เป็นไม้สนสามใบ
ควบคู่ไปกับงานปลูกสร้างสวนป่า ขุนคองก็ต้องเก็บข้อมูลทางอุตุนิยมวิทยาเช่นเดียวกับหน่วยงานป่าไม้
อื่นๆ
ด้วยสงสัยว่า ป่าไม้ทำให้ฝนตกจริงหรือ นิสิตวนศาสตร์กลุ่มหนึ่งจึงได้รับมอบหมายให้
หาคำตอบโดยยึดเอาข้อมูลอันยาวนานของขุนคองมาเป็นกรณีศึกษา ด้วยการสร้างสมการสหสัมพันธ์เส้น
โค้งขึ้นมาสมการหนึ่งและพบว่า ปริมาณน้ำฝนรายปี (มม.) ที่ขุนคองขึ้นอยู่กับเนื้อที่สวนป่าถึง 61
เปอร์เซ็นต์ทั้งนี้สามารถประมาณการได้จากสมการข้างล่างนี้
ปริมาณน้ำฝน = 22.99009 x (เนื้อที่สวนป่า) –1103.46853
เมื่อปี พ.. 2517 มีเนื้อที่สวนป่า 7,950 ไร่ ฝนตก 943 มม.
ปี พ.. 2524 มีเนื้อที่สวนป่า 14,810 ไร ่ ฝนตก 1,779 มม.
ปี พ.. 2529 มีเนื้อที่สวนป่า 18,110 ไร ่ ฝนตก 2,030 มม.
ปี พ.. 2532 มีเนื้อที่สวนป่า 2,466 ไร่ ฝนตก 2,466 มม.
หากขุนคองปลูกป่าได้ 25,000 ไร่เมื่อใด คาดว่าจะมีฝนตกถึงปีละ 2,532 มม.
และโอกาสที่ขุนคองจะมีฝนตกเกินกว่า 3,000 มม. ต่อปี เช่นเดียวกับในภาคใต้ก็ย่อม
เป็นไปได้ หากสามารถปลูกป่าให้ได้ถึง 35,000 ไร่
นั่นคือ ป่าไม้ทำให้ฝนตกจริง
เมื่อทราบเช่นนี้แล้วรัฐบาลจะมัวลังเลชักช้าอยู่กับการปลูกสร้างสวนป่าอีกหรือ
จากหนังสือพิมพ์ข่าวสด ฉบับประจำวันที่ 29 กรกฎาคม 2534
ที่มา  http://frc.forest.ku.ac.th/cgi_bin/database/100_frc/pdf/007.pdf

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น